การเตรียมตัวหางานและการพัฒนาบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ
หมายถึง ลักษณะที่สำคัญต่อการปรับตนเองของบุคคล
ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา
ท่าทาง ความสามารถ แรงจูงใจ
และการแสดงออกทางอารมณ์และผลที่เกิดจากประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม
ไม่อาจกล่าวได้ว่าคำจำกัดความใดดีและถูกต้องที่สุด
เพราะคำจำกัดความแต่ละความหมายต่างก็มาจากความเชื่อในทฤษฎีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
เมื่อนำความหมายมาวิเคราะห์ให้สัมพันธ์กับอาชีพซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านบริหาร การผลิต
การจำหน่ายและการให้บริการ
โดยพิจารณาบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน
จะพบว่าบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานโดยมีมากบ้างน้อยบ้าง จึงอาจให้ความหมายของบุคลิกภาพเชิงงานอาชีพได้ว่า เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดผลดีต่อการดำเนินงาน
ความสำคัญของบุคลิกภาพต่องานอาชีพ
บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล ทั้งด้านการคิด อารมณ์
การกระทำและรูปแบบพฤติกรรม
เป็นตัวกำหนดท่าทีปฏิกิริยาของผู้นั้นต่อการแสดงตนในสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่สำคัญต่อฤติกรรม และพฤตกรรมก็เป็นสิ่งรั้งหรือผลัดดันให้แต่ละคนก้าวหน้าหรือถอยหลังได้ ถ้าบุคคลมีบุคลิกภาพดี คุณค่าของบุคคลนั้นก็ย่อมมากขึ้น คำว่า
บุคลิกภาพดีเน้นบุคลิกภาพที่เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่และสถานะของบุคคล
ในการดำเนินงานซึ่งต้องอาศัยคุณลักษณะส่วนตนของผู้ดำเนินงานด้านไหวพริบการคิดวิเคราะห์ ความมีเหตุผล
การรู้ทันคน ทันเหตุการณ์ รอบรู้
กล้าได้กล้าเสีย
กล้าเสี่ยงพร้อมต่อการพบปะ
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทุกประเภท
ทุกระดับ
ปรับตัวได้รวดเร็วตามบทบาทหน้าที่และสถานะ
สายตากว้างไกล
ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ
ที่อาจเกิดขึ้น และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง เป็นต้น
ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมในการติดต่องานกับผู้อื่น ดังความสำคัญต่อไปนี้
1. มีอิทธิพลต่อการทำงาน บุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ มีอิทธิพลสูงมากต่อการทำงาน ถ้าบุคคลมีแรงจูงใจสูง จะเป็นแรงกระตุ้นให้พยายามดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จ ทำให้บุคคลมีความอดทนต่อสู้ ใช้ความสามารถลงทุนลงแรง
สนใจใฝ่รู้ในทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า แต่ถ้าบุคคลมีแรงจูงใจต่ำ ก็จะทำให้งานสำเร็จน้อยลงและงานขาดประสิทธิภาพ
2.กำหนดทิศทางในการทำงาน บุคลิกภาพด้านความคิดริเริ่ม กล้าเสี่ยง
และความรอบคอบ
มีผลต่อทิศทางการทำงาน
ถ้าบุคคลใดมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง
จะทำงานคิดค้นความแปลกใหม่ให้แก่ผลผลิตหรือให้บริการโดยใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อการตลาดและส่งเสริมการตลาดอื่นๆเพื่อแข่งขันและดำรงงานให้อยู่หรือก้าวหน้าต่อไปได้ ถ้าบุคลิกภาพเสี่ยง
บุคคลก็จะยอมลงทุนเสี่ยง
กล้าเผชิญกับความล้มเหลว
ถ้าประสบความสำเร็จก็จะทำให้มีกำไรมากขึ้น
สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น
แต่จะมีบุคคลบางประเภทที่มีบุคลิกภาพด้านความระมัดระวังรอบคอบสูง จะไม่ลงทุนกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและจะทำงานก้าวไปช้าๆแต่รู้สึกว่ามั่นคง
3. มีความน่าเชื่อถือ
บุคลิกภาพที่มีส่วยช่วยเสริมสร้างความศรัทธา ความน่าเชื่อถือ ทำให้บุคคลมี
“เครดิต”ในความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง
เช่น ถ้าเป็นผู้ที่รักษาคำพูด มีเหตุมีผล
วางตนถูกต้องตามกาลเทศะ
มีน้ำใจ ทำอะไรโดยนึกถึงใจเขาใจเรา ก็จะเป็นที่ยอมรับของทุกคนเป็นมิตรที่ดี
และสร้างความรู้สึกชอบพอไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นได้ แต่ถ้าบุคคลลักษณะไม่น่าเชื่อถือ
ก็จะเกิดปัญหาในการทำงาน
ทำให้ผู้อื่นไม่ไว้วางใจ
ไม่เชื่อถือศรัทธา ไม่ยอมรับ ไม่ร่วมงานด้วย ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่งานได้
4.สร้างความสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ผู้นั้นกับผู้มาติดต่อเกี่ยวข้องด้วย บุคคลที่มีลักษณะพร้อมเป็นมิตรกับผู้คน
ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง ทำตนให้ผู้อื่นเข้าถึงได้และเต็มใจในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นสนใจความคิด
ความรู้สึกของผู้อื่น
จะเป็นปัจจัยเสริมในการประสานงานและการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นได้อย่างดีส่งผลให้การทำงานมีความเจริญก้าวหน้า
แต่ถ้าบุคลิกภาพที่ขัดกับการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นอาจส่งผลเชิงลบต่องานของตนเองได้
อิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพอาจได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม หรือได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1.
อิทธิพลของพันธุกรรม
1.1. อิทธิพลของพันธุกรรมต่อลักษณะทางร่างกาย เช่น
รูปร่างหน้าตา
โครงสร้างและสัดส่วนของอวัยวะต่างๆ
ลักษณะผิว สีผม สีของดวงตา
รวมทั้งโรคที่รับจากพันธุกรรมบางชนิด
1.2. อิทธิพลของพันธุกรรมต่อความสามารถทางสติปัญญา ซึ่งไม่ใช่มาจากพันธุกรรมอย่างเดียว
แต่เป็นผลรวมของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกัน บุคคลที่ได้รับพันธุกรรมทางสติปัญญามาดี เช่น
การอบรมเลี้ยงดู อาหารการกิน สุขภาพทางร่างกาย สุขภาพจิตใจ
โรคภัยไข้เจ็บ
ย่อมเป็นสิ่งบันทอนความสามารถทางสติปัญญา
ถ้าบางคนมีพันธุกรรมที่ได้มาไม่ดี
แต่ได้รับสิ่งแวดล้อมที่ดี
เช่น สุขภาพดีการอบรมเลี้ยงดูที่ดี ย่อมมีโอกาสพัฒนาความสามารถทางสติปัญญาได้
พันธุกรรมยังมีบทบาทต่อบุคลิกภาพในด้านอื่นๆด้วย เช่น
นิสัย ความสามารถ หรือความถนัดในกิจกรรมบางอย่าง ลักษณะการพูด
กิริยาท่าทาง
2.
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของบุคคล ได้แกอาการการกิน โรคภัยไข้เจ็บ สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ นับว่าสำคัญมากต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ประสบการณ์ที่ช่วยสร้างสมบุคลิกภาพให้แก่บุคคลแยกได้เป็น 2 ชนิด คือ ประสบการณ์ร่วมและประสบการณ์เฉพาะ ซึ่งมีอิทธิพล ดังนี้
2.1. อิทธิพลประสบการณ์ร่วม
เป็นประสบการณ์ที่บุคคลในสังคมและวัฒนธรรมนั้นต่างได้รับเหมือนกัน เช่น
ค่านิยมของสังคม
บทบาทของสังคม บทบาททางเพศ รูปแบบการดำเนินชีวิต นอกจากจะมีบุคลิกภาพที่ต่างกันแล้ว บทบาททางเพศยังมีอิทธิพลไปถึงการเลือกงาน เลือกอาชีพ
การฝึกทักษะในงานด้วย
และลักษณะอาชีพหรืองานที่บุคคลแต่ละคนทำ
ก็ยังมีอิทธิพลไปถึงรสนิยมหรือการแต่งกาย
ภาษาที่ใช้
และการวางตัวในสังคมหรือบทบาททางสังคมด้วย
2.2. อิทธิพลของประสบการณ์เฉพาะ
เป็นประสบการณ์ซึ่งแต่ละบุคคลในสังคมหนึ่งๆได้รับมาไม่เหมือนกัน เช่น พันธุกรรม วุฒิภาวะ
อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมก่อนคลอด
ลักษณะการทำงานของอวัยวะต่างๆ
ระบบต่างๆในร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส
อุบัติเหตุที่ได้รับความสำเร็จหรือความผิดหวังที่รุนแรงผิดธรรมดา
บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานอาชีพ
ในการทำงานจะต้องอาศัยคุณลักษณะที่แตกต่างกัน
งานบางอย่างอาศัยลักษณะส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายในมาก แต่งานบางอย่างอาศัยส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายนอกมากโดยภาพรวมแล้วลักษณะบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานอาชีพ
มีดังต่อไปนี้
1. เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด
ช่างสืบค้น คือเป็นบุคคลช่างแสวงหาคำตอบในปัญหาทุกสิ่งอย่าง บุคคลที่ประสบความสำเร็จ จะเป็นคนที่บอกตนเองอยู่เสมอว่า
ไม่มีสิ่งใดที่ไม่รู้
ไม่มีปัญหาใดที่ตอบไม่ได้
ไม่มีงานใดที่ทำไม่ได้
ไม่มีสิ่งใดที่จะเอาชนะไมได้
2. ความเป็นผู้ชอบเปลี่ยนแปลงเสมอ คือ
เป็นผู้ชอบการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง
ให้ได้อะไรแปลกใหม่อยู่เสมอ
แต่จะยังไม่เปลี่ยนหากยังขาดข้อมูลที่เด่นชัดว่าเปลี่ยนแล้วจะต้องไปเผชิญอะไรข้างหน้า
3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ
เป็นงานที่แข่งขัน
ถ้าบุคคลใดที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
หาวิธีการแปลกใหม่ก็จะทำให้งานก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
4. เป็นคนทำงาน
คือใช้สมองและความคิดในการทำงาน
คำนวณผลประโยชน์ที่ได้รับคำนึงถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้น
5. มีใจรักในการทำงาน ทำงานเพื่องาน
มิใช่ทำงานเพื่อแลกกับค่าแรงหรือเงินเดือนเพียงอย่างเดียว แต่มีความตั้งใจทำงาน สู้งาน
และผูกพันกับงานที่ตนรับผิดชอบอยู่
6. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ในการทำงานจะเน้นมนุษย์สัมพันธ์มากโดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร
เนื่องจากการทำงานไม่เพียงแต่จะเข้ากับบุคลอื่นได้ แต่ต้องสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างดีและสอนงานคนอื่นได้ด้วย
แนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพ
การที่บุคคลจะมีบุคลิกภาพดีนั้น
มิใช่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพียงภายนอกด้วยการแต่งหรือพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น
แต่จำเป็นต้องปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในก่อน จึงจะทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกดีได้ โดยแบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
เป็นความจำที่เป็นบุคคลจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพภายในก่อนเพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกภาพภายนอกหรือมีการประพฤติปฏิบัติด้านต่างๆได้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานภาพของตนเองตามสภาวการณ์แวดล้อม บุคลิกภาพภายในที่จะต้องพัฒนา มีดังนี้
😅การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
😅 ความกระตือรือร้น
😅ความรอบรู้
😅 ความคิดริเริ่ม
😅 ความจริงใจ
😅 ความรู้กาลเทศะ
😅 ปฏิภาณไหวพริบ
😅 ความรับผิดชอบ
😅 ความจำ
😅 อารมณ์ขัน
😅 ความมีคุณธรรม
2. การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก เมื่อมีการพัฒนาบุคลิกภายนอกในดีแล้ว จะทำให้พฤติกรรม ท่าที
การแสดงออกในด้านต่างๆ งดงาม เหมาะสม
ทำให้ได้รับความชื่นชม
การยอมรับ
และศรัทธาจากบุคคลอื่นได้อย่างดี
จึงจำเป็นต้องพัฒนา ดังนี้
😏 รูปร่างหน้าตา
😏 การใช้ถ้อยคำภาษา
😏 การแต่งกาย
😏 มีศิลปะการพูด
😏 การปรากฏตัว
😏 กิริยาท่าทาง
😏 การสบสายตา
😏 การใช้น้ำเสียง
การพัฒนาบุคลิกภาพกับการสร้างความสำเร็จในชีวิต
การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นหนทางสำคัญที่จำนำบุคคลไปสู่ความสำเร็จในชีวิตเพราะการที่บุคคลจะสร้างความสำเร็จในชีวิตได้ จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถสำคัญ 3
ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการครองตน คือ ดูแลตนเองให้กินดีอยู่ดี พอใจในชีวิตของตนเองได้
2. ความสามารถในการครองคน คือ
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นที่รักใครของญาติมิตร รู้จักเอาใจใส่เรา ให้ความสำคัญแก่ผู้อื่นจนชนะใจผู้อื่นได้
3. ความสามารถในการครองงาน คือ
สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จในงานอาชีพ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าในงานที่รับผิดชอบ
การพัฒนาบุคลิกภาพทั่วไปในการทำงาน
บุคลิกภาพของบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และพัฒนาได้ตามบทบาทและอาชีพที่ดำเนินอยู่
ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพโดยทั่วไปในการทำงาน ดังนี้
1.
การพัฒนาบุคลิกภาพทางร่างกาย ควรใช้เครื่องแต่งกายที่สะอาดเรียบร้อย เหมาะสมกับรูปร่างของตน ไม่นำสมัยจนเกินไป บุคลิกภาพทางร่างกายเป็นสิ่งประทับใจ นอกจากจะดูแลเรื่องการแต่งกายและความสะอาดแล้ว
ควรตรวจสอบตนเองเกี่ยวกับภาษาและกิริยาท่าทางด้วย
2.
การพัฒนาบุคลิกภาพทางสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด เจตคติและความสนใจ ผู้ทำงานโดยทั่วไปไม่จำเป็นจะต้องเฉลียวฉลาด มีไหวพริบสูงเสมอไป จึงจัดว่ามีบุคลิกภาพดี ถ้าทุกคนฉลาดมากเท่ากันไปหมด คิดอะไรเหมือนกัน สนใจสิ่งคล้ายกัน โลกคงไม่น่าอยู่และน่าเบื่อ
3.
การพัฒนาบุคลิกภาพทางอารมณ์
โดยสังเกตและคิดหาเหตุผลจากพฤติกรรมของเด็กในตัวเด็กจะมีการแสดงอารมณ์ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติ
ดังนั้นวิธีการที่ดีคืออย่าปล่อยให้มีอารมณ์พลุ่งพล่าน เพราะจะทำให้บุคคลก้าวร้าว หยาบคายต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้บริหาร
ลูกค้า และบุคคลทั่วไป
หรือแม้แต่การแสดงออกซึ่งความรักความชอบก็ควรจะสำรวม
4.
การพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม เช่น
กิริยาท่าทาง น้ำเสียง ภาษาพูด
การแต่งกาย และการวางตน
เป็นปัจจัยที่จูงใจให้บุคคลอื่นอยากคบหาสมาคมด้วย
และปัจจัยที่ทำให้มิตรภาพยั่งยืนมาจากคุณสมบัติที่อยู่ภายในตัวบุคคล
เทคนิคการสร้างบุคลิกภาพที่ดี
เทคนิคการสร้างบุคลิกภาพที่ดี มีดังนี้
1.
การแต่งกาย การพบปะกับบุคคลอื่น สิ่งแรกที่มองเห็นคือ การแต่งกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดความประทับใจหรือไม่ประทับใจ
หากเราเข้าใจและรู้จักตนเองดีเพียงพอก็สามารถหาเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพ หน้าที่การงานโดยไม่จำเป็นต้องฟุ่มเฟือย
2.
มีความฉลาด รอบรู้
ความฉลาดรอบรู้เป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งเป็นการใช้สติปัญญา วุฒิภาวะ
พิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบ
จะต้องอาศัยประสบการณ์และการศึกษาหาความรู้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว
รู้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สังคมให้ความสำคัญแก่ความรู้
3.
ความมีน้ำใจและความจริงใจ
การกระทำและการแสดงออกทางความคิดเป็นภาพสะท้อนตัวบุคคล หากเริ่มที่คิดดี คิดบวก
คำพูดดีๆ
จะออกมาแบบไม่ต้องเสแสร้งแต่อย่างใด
บางสิ่งบางอย่างแม้มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกที่ออกจากใจ และสังเกตได้จากสีหน้า ดังนั้นทุกคนจึงควรมีน้ำใจและความจริงใจที่แท้ต่อผู้อื่นเสมอ
4.
มีความรับผิดชอบและเชื่อมั่นในตนเอง ควรมีความรับผิดชอบต่อการกระทำ คำพูด
หน้าที่และเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง
ยืนยันในเป้าหมายและความตั้งใจที่ดีของตนถึงแม้ว่าจะเคยล้มเหลวก็อย่าท้อถอย ให้เก็บเอาประสบการณ์มาพัฒนาเพื่อเป็นแรงผลักดันต่อไป
5.
การรักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจให้แข็งแรง หน้าตา
ผิวพรรณที่สดใสล้วนต้องมาจากภายใน
การรักษาสุขภาพร่างกายโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ออกกำลังกายเป็นประจำและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี