วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การเตรียมตัวหางานและการพัฒนาบุคลิกภาพ

การเตรียมตัวหางานและการพัฒนาบุคลิกภาพ


ความหมายของบุคลิกภาพ

         บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะที่สำคัญต่อการปรับตนเองของบุคคล  ได้แก่  รูปร่าง  หน้าตา  ท่าทาง  ความสามารถ  แรงจูงใจ  และการแสดงออกทางอารมณ์และผลที่เกิดจากประสบการณ์  อย่างไรก็ตาม  ไม่อาจกล่าวได้ว่าคำจำกัดความใดดีและถูกต้องที่สุด  เพราะคำจำกัดความแต่ละความหมายต่างก็มาจากความเชื่อในทฤษฎีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
      เมื่อนำความหมายมาวิเคราะห์ให้สัมพันธ์กับอาชีพซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านบริหาร  การผลิต  การจำหน่ายและการให้บริการ  โดยพิจารณาบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน  จะพบว่าบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานโดยมีมากบ้างน้อยบ้าง จึงอาจให้ความหมายของบุคลิกภาพเชิงงานอาชีพได้ว่า เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดผลดีต่อการดำเนินงาน


   ความสำคัญของบุคลิกภาพต่องานอาชีพ   

          บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล  ทั้งด้านการคิด  อารมณ์  การกระทำและรูปแบบพฤติกรรม  เป็นตัวกำหนดท่าทีปฏิกิริยาของผู้นั้นต่อการแสดงตนในสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่สำคัญต่อฤติกรรม และพฤตกรรมก็เป็นสิ่งรั้งหรือผลัดดันให้แต่ละคนก้าวหน้าหรือถอยหลังได้  ถ้าบุคคลมีบุคลิกภาพดี  คุณค่าของบุคคลนั้นก็ย่อมมากขึ้น คำว่า บุคลิกภาพดีเน้นบุคลิกภาพที่เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่และสถานะของบุคคล
          ในการดำเนินงานซึ่งต้องอาศัยคุณลักษณะส่วนตนของผู้ดำเนินงานด้านไหวพริบการคิดวิเคราะห์  ความมีเหตุผล  การรู้ทันคน  ทันเหตุการณ์  รอบรู้  กล้าได้กล้าเสีย  กล้าเสี่ยงพร้อมต่อการพบปะ  มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทุกประเภท  ทุกระดับ  ปรับตัวได้รวดเร็วตามบทบาทหน้าที่และสถานะ  สายตากว้างไกล  ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ  ที่อาจเกิดขึ้น และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง  เป็นต้น    ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมในการติดต่องานกับผู้อื่น  ดังความสำคัญต่อไปนี้

         1. มีอิทธิพลต่อการทำงาน  บุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ  มีอิทธิพลสูงมากต่อการทำงาน  ถ้าบุคคลมีแรงจูงใจสูง  จะเป็นแรงกระตุ้นให้พยายามดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จ  ทำให้บุคคลมีความอดทนต่อสู้  ใช้ความสามารถลงทุนลงแรง  สนใจใฝ่รู้ในทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า  แต่ถ้าบุคคลมีแรงจูงใจต่ำ  ก็จะทำให้งานสำเร็จน้อยลงและงานขาดประสิทธิภาพ
         2.กำหนดทิศทางในการทำงาน  บุคลิกภาพด้านความคิดริเริ่ม  กล้าเสี่ยง  และความรอบคอบ  มีผลต่อทิศทางการทำงาน  ถ้าบุคคลใดมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง  จะทำงานคิดค้นความแปลกใหม่ให้แก่ผลผลิตหรือให้บริการโดยใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อการตลาดและส่งเสริมการตลาดอื่นๆเพื่อแข่งขันและดำรงงานให้อยู่หรือก้าวหน้าต่อไปได้  ถ้าบุคลิกภาพเสี่ยง บุคคลก็จะยอมลงทุนเสี่ยง  กล้าเผชิญกับความล้มเหลว  ถ้าประสบความสำเร็จก็จะทำให้มีกำไรมากขึ้น  สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น  แต่จะมีบุคคลบางประเภทที่มีบุคลิกภาพด้านความระมัดระวังรอบคอบสูง  จะไม่ลงทุนกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและจะทำงานก้าวไปช้าๆแต่รู้สึกว่ามั่นคง
       3. มีความน่าเชื่อถือ  บุคลิกภาพที่มีส่วยช่วยเสริมสร้างความศรัทธา  ความน่าเชื่อถือ ทำให้บุคคลมี “เครดิต”ในความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ถ้าเป็นผู้ที่รักษาคำพูด  มีเหตุมีผล  วางตนถูกต้องตามกาลเทศะ  มีน้ำใจ  ทำอะไรโดยนึกถึงใจเขาใจเรา  ก็จะเป็นที่ยอมรับของทุกคนเป็นมิตรที่ดี  และสร้างความรู้สึกชอบพอไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นได้  แต่ถ้าบุคคลลักษณะไม่น่าเชื่อถือ ก็จะเกิดปัญหาในการทำงาน  ทำให้ผู้อื่นไม่ไว้วางใจ  ไม่เชื่อถือศรัทธา  ไม่ยอมรับ  ไม่ร่วมงานด้วย  ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่งานได้
      4.สร้างความสัมพันธภาพระหว่างบุคคล  ผู้นั้นกับผู้มาติดต่อเกี่ยวข้องด้วย  บุคคลที่มีลักษณะพร้อมเป็นมิตรกับผู้คน ยิ้มแย้ม  เป็นกันเอง  ทำตนให้ผู้อื่นเข้าถึงได้และเต็มใจในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นสนใจความคิด  ความรู้สึกของผู้อื่น  จะเป็นปัจจัยเสริมในการประสานงานและการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นได้อย่างดีส่งผลให้การทำงานมีความเจริญก้าวหน้า  แต่ถ้าบุคลิกภาพที่ขัดกับการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นอาจส่งผลเชิงลบต่องานของตนเองได้


    อิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ   

     บุคลิกภาพอาจได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม  หรือได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม  ดังนี้

1.        อิทธิพลของพันธุกรรม
             1.1.      อิทธิพลของพันธุกรรมต่อลักษณะทางร่างกาย  เช่น  รูปร่างหน้าตา  โครงสร้างและสัดส่วนของอวัยวะต่างๆ  ลักษณะผิว  สีผม  สีของดวงตา  รวมทั้งโรคที่รับจากพันธุกรรมบางชนิด
             1.2.      อิทธิพลของพันธุกรรมต่อความสามารถทางสติปัญญา  ซึ่งไม่ใช่มาจากพันธุกรรมอย่างเดียว  แต่เป็นผลรวมของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกัน บุคคลที่ได้รับพันธุกรรมทางสติปัญญามาดี  เช่น   การอบรมเลี้ยงดู  อาหารการกิน  สุขภาพทางร่างกาย  สุขภาพจิตใจ  โรคภัยไข้เจ็บ  ย่อมเป็นสิ่งบันทอนความสามารถทางสติปัญญา  ถ้าบางคนมีพันธุกรรมที่ได้มาไม่ดี  แต่ได้รับสิ่งแวดล้อมที่ดี  เช่น  สุขภาพดีการอบรมเลี้ยงดูที่ดี  ย่อมมีโอกาสพัฒนาความสามารถทางสติปัญญาได้  พันธุกรรมยังมีบทบาทต่อบุคลิกภาพในด้านอื่นๆด้วย  เช่น  นิสัย  ความสามารถ  หรือความถนัดในกิจกรรมบางอย่าง  ลักษณะการพูด  กิริยาท่าทาง

2.        อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของบุคคล  ได้แกอาการการกิน  โรคภัยไข้เจ็บ  สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์  นับว่าสำคัญมากต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ    ประสบการณ์ที่ช่วยสร้างสมบุคลิกภาพให้แก่บุคคลแยกได้เป็น 2 ชนิด  คือ ประสบการณ์ร่วมและประสบการณ์เฉพาะ  ซึ่งมีอิทธิพล ดังนี้ 
              2.1.      อิทธิพลประสบการณ์ร่วม  เป็นประสบการณ์ที่บุคคลในสังคมและวัฒนธรรมนั้นต่างได้รับเหมือนกัน  เช่น  ค่านิยมของสังคม  บทบาทของสังคม  บทบาททางเพศ  รูปแบบการดำเนินชีวิต  นอกจากจะมีบุคลิกภาพที่ต่างกันแล้ว  บทบาททางเพศยังมีอิทธิพลไปถึงการเลือกงาน  เลือกอาชีพ  การฝึกทักษะในงานด้วย  และลักษณะอาชีพหรืองานที่บุคคลแต่ละคนทำ  ก็ยังมีอิทธิพลไปถึงรสนิยมหรือการแต่งกาย  ภาษาที่ใช้  และการวางตัวในสังคมหรือบทบาททางสังคมด้วย
               2.2.      อิทธิพลของประสบการณ์เฉพาะ  เป็นประสบการณ์ซึ่งแต่ละบุคคลในสังคมหนึ่งๆได้รับมาไม่เหมือนกัน  เช่น พันธุกรรม  วุฒิภาวะ  อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมก่อนคลอด  ลักษณะการทำงานของอวัยวะต่างๆ ระบบต่างๆในร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส  อุบัติเหตุที่ได้รับความสำเร็จหรือความผิดหวังที่รุนแรงผิดธรรมดา
 
   บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานอาชีพ    

          ในการทำงานจะต้องอาศัยคุณลักษณะที่แตกต่างกัน  งานบางอย่างอาศัยลักษณะส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายในมาก แต่งานบางอย่างอาศัยส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายนอกมากโดยภาพรวมแล้วลักษณะบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานอาชีพ มีดังต่อไปนี้
1.       เป็นคนช่างสังเกต  ช่างคิด  ช่างสืบค้น    คือเป็นบุคคลช่างแสวงหาคำตอบในปัญหาทุกสิ่งอย่าง  บุคคลที่ประสบความสำเร็จ  จะเป็นคนที่บอกตนเองอยู่เสมอว่า ไม่มีสิ่งใดที่ไม่รู้  ไม่มีปัญหาใดที่ตอบไม่ได้  ไม่มีงานใดที่ทำไม่ได้  ไม่มีสิ่งใดที่จะเอาชนะไมได้ 
2.       ความเป็นผู้ชอบเปลี่ยนแปลงเสมอ  คือ  เป็นผู้ชอบการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง  ให้ได้อะไรแปลกใหม่อยู่เสมอ  แต่จะยังไม่เปลี่ยนหากยังขาดข้อมูลที่เด่นชัดว่าเปลี่ยนแล้วจะต้องไปเผชิญอะไรข้างหน้า
3.       มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ เป็นงานที่แข่งขัน  ถ้าบุคคลใดที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หาวิธีการแปลกใหม่ก็จะทำให้งานก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
4.       เป็นคนทำงาน  คือใช้สมองและความคิดในการทำงาน  คำนวณผลประโยชน์ที่ได้รับคำนึงถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้น
5.       มีใจรักในการทำงาน  ทำงานเพื่องาน  มิใช่ทำงานเพื่อแลกกับค่าแรงหรือเงินเดือนเพียงอย่างเดียว  แต่มีความตั้งใจทำงาน  สู้งาน  และผูกพันกับงานที่ตนรับผิดชอบอยู่
6.       มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  ในการทำงานจะเน้นมนุษย์สัมพันธ์มากโดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร  เนื่องจากการทำงานไม่เพียงแต่จะเข้ากับบุคลอื่นได้    แต่ต้องสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างดีและสอนงานคนอื่นได้ด้วย

   แนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพ   

    การที่บุคคลจะมีบุคลิกภาพดีนั้น  มิใช่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพียงภายนอกด้วยการแต่งหรือพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น  แต่จำเป็นต้องปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในก่อน  จึงจะทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกดีได้  โดยแบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพเป็น 2 ลักษณะ  คือ
1.       การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน  เป็นความจำที่เป็นบุคคลจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพภายในก่อนเพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกภาพภายนอกหรือมีการประพฤติปฏิบัติด้านต่างๆได้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานภาพของตนเองตามสภาวการณ์แวดล้อม  บุคลิกภาพภายในที่จะต้องพัฒนา  มีดังนี้
😅การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
😅 ความกระตือรือร้น
😅ความรอบรู้
😅 ความคิดริเริ่ม
😅 ความจริงใจ
😅 ความรู้กาลเทศะ
😅 ปฏิภาณไหวพริบ
😅 ความรับผิดชอบ
😅 ความจำ
😅 อารมณ์ขัน
😅 ความมีคุณธรรม

2.       การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก  เมื่อมีการพัฒนาบุคลิกภายนอกในดีแล้ว  จะทำให้พฤติกรรม  ท่าที  การแสดงออกในด้านต่างๆ  งดงาม  เหมาะสม  ทำให้ได้รับความชื่นชม  การยอมรับ  และศรัทธาจากบุคคลอื่นได้อย่างดี  จึงจำเป็นต้องพัฒนา  ดังนี้
😏 รูปร่างหน้าตา
😏 การใช้ถ้อยคำภาษา
😏 การแต่งกาย
😏 มีศิลปะการพูด
😏 การปรากฏตัว
😏 กิริยาท่าทาง
😏 การสบสายตา
😏 การใช้น้ำเสียง


  การพัฒนาบุคลิกภาพกับการสร้างความสำเร็จในชีวิต    
     การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นหนทางสำคัญที่จำนำบุคคลไปสู่ความสำเร็จในชีวิตเพราะการที่บุคคลจะสร้างความสำเร็จในชีวิตได้  จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถสำคัญ  3  ประการ  ดังนี้
1.  ความสามารถในการครองตน  คือ ดูแลตนเองให้กินดีอยู่ดี  พอใจในชีวิตของตนเองได้
2.  ความสามารถในการครองคน  คือ  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นที่รักใครของญาติมิตร  รู้จักเอาใจใส่เรา  ให้ความสำคัญแก่ผู้อื่นจนชนะใจผู้อื่นได้
3.  ความสามารถในการครองงาน  คือ  สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จในงานอาชีพ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีความก้าวหน้าในงานที่รับผิดชอบ

    การพัฒนาบุคลิกภาพทั่วไปในการทำงาน    
          บุคลิกภาพของบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ  และพัฒนาได้ตามบทบาทและอาชีพที่ดำเนินอยู่  ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพโดยทั่วไปในการทำงาน  ดังนี้
       1.       การพัฒนาบุคลิกภาพทางร่างกาย  ควรใช้เครื่องแต่งกายที่สะอาดเรียบร้อย  เหมาะสมกับรูปร่างของตน  ไม่นำสมัยจนเกินไป  บุคลิกภาพทางร่างกายเป็นสิ่งประทับใจ  นอกจากจะดูแลเรื่องการแต่งกายและความสะอาดแล้ว  ควรตรวจสอบตนเองเกี่ยวกับภาษาและกิริยาท่าทางด้วย
      2.       การพัฒนาบุคลิกภาพทางสติปัญญา  ความรู้สึกนึกคิด  เจตคติและความสนใจ  ผู้ทำงานโดยทั่วไปไม่จำเป็นจะต้องเฉลียวฉลาด  มีไหวพริบสูงเสมอไป  จึงจัดว่ามีบุคลิกภาพดี  ถ้าทุกคนฉลาดมากเท่ากันไปหมด  คิดอะไรเหมือนกัน  สนใจสิ่งคล้ายกัน  โลกคงไม่น่าอยู่และน่าเบื่อ 
      3.       การพัฒนาบุคลิกภาพทางอารมณ์  โดยสังเกตและคิดหาเหตุผลจากพฤติกรรมของเด็กในตัวเด็กจะมีการแสดงอารมณ์ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติ  ดังนั้นวิธีการที่ดีคืออย่าปล่อยให้มีอารมณ์พลุ่งพล่าน  เพราะจะทำให้บุคคลก้าวร้าว  หยาบคายต่อเพื่อนร่วมงาน  ต่อผู้บริหาร  ลูกค้า  และบุคคลทั่วไป  หรือแม้แต่การแสดงออกซึ่งความรักความชอบก็ควรจะสำรวม
     4.       การพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม  เช่น  กิริยาท่าทาง  น้ำเสียง  ภาษาพูด  การแต่งกาย  และการวางตน  เป็นปัจจัยที่จูงใจให้บุคคลอื่นอยากคบหาสมาคมด้วย  และปัจจัยที่ทำให้มิตรภาพยั่งยืนมาจากคุณสมบัติที่อยู่ภายในตัวบุคคล 
เทคนิคการสร้างบุคลิกภาพที่ดี
เทคนิคการสร้างบุคลิกภาพที่ดี  มีดังนี้
           1.       การแต่งกาย  การพบปะกับบุคคลอื่น  สิ่งแรกที่มองเห็นคือ การแต่งกาย  ซึ่งอาจทำให้เกิดความประทับใจหรือไม่ประทับใจ  หากเราเข้าใจและรู้จักตนเองดีเพียงพอก็สามารถหาเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพ  หน้าที่การงานโดยไม่จำเป็นต้องฟุ่มเฟือย
           2.       มีความฉลาด  รอบรู้  ความฉลาดรอบรู้เป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดี  ซึ่งเป็นการใช้สติปัญญา  วุฒิภาวะ  พิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบ  จะต้องอาศัยประสบการณ์และการศึกษาหาความรู้จากสิ่งต่างๆ  รอบตัว  รู้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สังคมให้ความสำคัญแก่ความรู้
          3.       ความมีน้ำใจและความจริงใจ  การกระทำและการแสดงออกทางความคิดเป็นภาพสะท้อนตัวบุคคล  หากเริ่มที่คิดดี  คิดบวก  คำพูดดีๆ  จะออกมาแบบไม่ต้องเสแสร้งแต่อย่างใด  บางสิ่งบางอย่างแม้มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกที่ออกจากใจ  และสังเกตได้จากสีหน้า  ดังนั้นทุกคนจึงควรมีน้ำใจและความจริงใจที่แท้ต่อผู้อื่นเสมอ
         4.       มีความรับผิดชอบและเชื่อมั่นในตนเอง  ควรมีความรับผิดชอบต่อการกระทำ คำพูด  หน้าที่และเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง  ยืนยันในเป้าหมายและความตั้งใจที่ดีของตนถึงแม้ว่าจะเคยล้มเหลวก็อย่าท้อถอย  ให้เก็บเอาประสบการณ์มาพัฒนาเพื่อเป็นแรงผลักดันต่อไป
        5.       การรักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจให้แข็งแรง  หน้าตา  ผิวพรรณที่สดใสล้วนต้องมาจากภายใน  การรักษาสุขภาพร่างกายโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ดื่มน้ำให้เพียงพอ  ออกกำลังกายเป็นประจำและทำจิตใจให้บริสุทธิ์  จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี 





ใบงาน  
 คำชี้แจง ให้นักเรียนสรุปความรู้ในรูปแบบ Compare & Contrast ความเหมือนและแตกต่างของธุรกิจที่นักเรียนสนใจมา 2 ธุรกิจ


วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ

การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ

การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพได้นั้น  จะต้องเป็นผู้ที่มีเทคนิคในการบริหารและพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน  เพราะจะทำให้เป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์  มีเหตุมีผล  มีความขยัน  มีความอดทน  และแสวงหาความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  และเป็นผู้ที่มีความสำเร็จในงานอาชีพ
                อาชีพ  หมายถึง  การเลี้ยงชีวิต  การทำมาหากิน  งานที่เป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพ  ซึ่งในปัจจุบันมีอาชีพมากมาย
          การพัฒนาตนเอง  หมายถึง  การที่บุคคลกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในชีวิตตนเองไว้ล่วงหน้า  และหาวิธีพัฒนาการดำเนินชีวิตให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
          การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ  หมายถึง  การพัฒนาความรู้  ความสามารถของตนเองให้ดีขึ้น  ทั้งร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคม  เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคมและประโยชน์ต่อผู้อื่น  ตลอดจนเพื่อการดำรงชีวิตของตนอย่างมีความสุข
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาชีพ

            ความสำคัญของการพัฒนาตนเองในงานอาชีพ           
              
          บุคคลทุกคนต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  หรือมีชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคม  ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายและความต้องการของตนเอง  พัฒนาตนเองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมโลก  การพัฒนาตนเองจึงมีความสำคัญ  ดังนี้
1.        ความสำคัญต่อตนเอง  คือ
1.1     เตรียมตนเองให้พร้อมทุกด้าน  เพื่อรองรับต่อสถานการณ์ด้วยความรู้สึกที่ดี
1.2     ปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง  และพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสม  โดยขจัดคุณลักษณะที่ไม่ต้องการออก  พร้อมกับเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
1.3     วางแผนทางให้พัฒนาไปสู่เป้าหมายด้วยความมั่นใจ  โดยส่งเสริมความรู้สึก  คุณค่าแห่งตนให้สูงขึ้น  เข้าใจตนเอง  และทำหน้าที่ที่ตามบทบาทได้
2.        ความสำคัญต่อบุคคลอื่น  คือ
2.1     เนื่องจากบุคคลในสังคมมีความเชื่อมโยงกัน  การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียมตัวเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อผู้ที่ติดต่อด้วย  ทั้งบุคคลในครอบครัวและเพื่อนในที่ทำงาน
2.2     เป็นตัวอย่างอ้างอิงให้เกิดการพัฒนาแก่บุคคลอื่น  เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งชีวิตส่วนตัว  การทำงาน   และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชุน  อันจะส่งผลให้ชุมนุมมีความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.        ความสำคัญต่อสังคม คือ
3.1     แข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น  ทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม  โดยวิธีคิดและทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของผลผลิต
3.2     ขจัดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น อันทำให้เกิดความเกิดหน้าทั้งต่อตนเองและสังคมโดยรวม


                      คุณสมบัติของบุคคลในการพัฒนาตนเอง        
1.        มีความกระตือรือร้น   บุคคลที่พัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า  มีประสิทธิภาพ  ต้องมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง  แสวงหาความรู้ใหม่ๆถ้ามีข่าวสารอะไรใหม่ๆต้องรู้  ต้องทำความเข้าใจ  ต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่า  ข่าวสารนั้นเป็นความจริงทั้งหมดหรือเป็นความจริงบางส่วน  และเป็นความจริงที่มีประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นอย่างไร
2.        มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน      เป็นบุคคลที่สามารถทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ซึ่งจำเป็นต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์  เพราะมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องความคิด  อารมณ์  รูปร่างหน้าตา  ลักษณะนิสัย  บุคลิกภาพ  ซึ่งจะต้องไม่ไปคาดหวังให้ใครเหมือนใคร  และไม่ต้องทำตนให้เหมือนใคร  เพียงแต่ว่าจะทำตนอย่างไรโดยให้มีเอกลักษณ์ของตนเอง  และยอมรับในเอกลักษณ์ของบุคคลอื่น  โดยสามารถทำงานในชีวิตประจำวันให้ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดำรงชีวิตครอบครัวให้อยู่อย่างสงบสุขและควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่าน  มีอารมณ์มั่นคง  ไม่หมั่นไหวง่าย  ไม่หงุดหงิด  ซึ่งจะส่งผลไปสู่ความเป็นบุคคลที่มีสุขภาพจิตเสื่อม  ถ้าอารมณ์ดี  ยิ้มแย้มแจ่มใส  ก็จะเป็นบุคคลที่สุขภาพจิตดี  พร้อมกับต้องให้เกียรติยกย่องบุคคลอื่น  เพื่อให้บุคคลอื่นยกย่องและให้เกียรติตนด้วย
3.        ต้องพัฒนาทางร่างกาย  บุคคลควรแต่งกายให้เหมาะสมกับอาชีพการงาน  และบุคลิกของตนเอง  รวมทั้งการพูด  การรักษาความสะอาด  การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ
4.        เห็นส่วนดีของบุคคลอื่นมากกว่าข้อบกพร่อง  เป็นบุคคลที่พยายามเอาส่วนดีของบุคคลอื่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากกว่าจะไปคอยจับผิดผู้อื่น  อันจะทำให้ตนเองไม่สบายใจ
5.        ต้องพัฒนาทางสังคม  พัฒนาให้เข้ากับบุคคลอื่นได้  และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
6.        ต้องพัฒนาทางเชาวน์ปัญญา  บุคคลควรเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้   ศึกษาหาความรู้  และประสบการณ์  ทำให้เป็นบุคคลมีความคิด  มีวิจารณญาณ เวลาฟังอะไรก็รู้จักวิเคราะห์  สรุป  นำเอาสิ่งดีๆมาใช้ให้เป็นประโยชน์  สามารถที่จะตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง

              การสำรวจและพัฒนาตนเอง                    
    การสำรวจตนเอง  เป็นการสำรวจสภาพการดำรงชีวิตที่เป็นอยู่ว่าตนเองกำลังเผชิญปัญหาอยู่หรือไม่  ปัจจุบันมีการแข่งขันสูงและเทคโนโลยีเปลี่ยนตลอดเวลา  จนไม่สามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นได้  ผู้ที่พัฒนาตนเองอยู่เสมอจึงมีโอกาสประสบความสำเร็จในสังคมมากกว่าผู้อื่น  ก่อนที่จะพัฒนาตนเองต้องสำรวจและวิเคราะห์ให้ถูกต้องว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร  จุดใดเป็นจุดเด่นควรรักษาไว้  จุดใดเป็นจุดด้วยควรปรับปรุง  การสำรวจตนเองทำได้  2  วิธี  คือ
1.        การสังเกต  จะทำให้ทราบลักษณะนิสัยของตนเอง  เพราะไม่มีใครรู้จักตนเองดีเท่าตนเอง  การสังเกตตนเองจะเชื่อถือได้เพียงใด  ขึ้นอยู่กับการทำใจเป็นกลาง  ไม่เข้าข้างตนเองหรือดูถูกผู้อื่นซึ่งทำได้ยาก  แต่ควรจะพยายามทำ  ถ้าทำได้จะเห็นตนเองชัดเจนขึ้น  การสังเกตตนเองทำได้โดยพิจารณา  ดังนี้
1.1.      ลักษณะทางร่างกาย  ได้แก่รูปร่างหน้าตา  กิริยาท่าทาง  การแต่งกาย  ความสะอาด
1.2.      ลักษณะนิสัย ได้แก่  ความมีเหตุผล  ความเชื่อมั่นในตนเอง  ความเป็นตัวของตัวเอง  ความอดทน  ความทะเยอทะยาน  ความก้าวร้าว  ความซื่อสัตย์  ความเฉียดฉลาด  ความรับผิดชอบ  ความอิสระ  ความสุขภาพ  ความขยันขันแข็ง
1.3.      ลักษณะทางอารมณ์  ได้แก่  การควบคุมอารมณ์  ความเครียด  ความกังวล  ความโกรธ  ความรัก  อารมณ์ขัน
1.4.      ลักษณะการเข้าสังคม  ได้แก่  การพูด  การฟัง  การผูกมิตร  การสร้างความอบอุ่น  เป็นกันเอง  ยิ้มแย้มแจ่มใส
1.5.      การศึกษาและความสามารถเฉพาะตัว  ได้แก่  ความรู้  ความชำนาญ  ทักษะพิเศษ
2.     การบอกกล่าวของผู้ใกล้ชิด  จะบอกได้ว่าตัวเรามีนิสัยอย่างไร  คิดอะไร  ต้องการอะไร  มีความเชื่อ  ความนิยมชมชอบเรื่องอะไร  คำบอกเล่าของผู้อื่นจะทำให้รู้ลักษณะนิสัยบางอย่างและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในสิ่งที่ตนไม่รู้  ทั้งนี้ต้องทำใจให้กว้าง  ยอมรับฟังและไม่พยายามแก้ตัว  การพัฒนาตนเองเป็นสิ่งที่ท้าทายความเข้มแข็งของจิตใจ  เมื่อตั้งใจที่จะพัฒนาตนเองแล้วต้องมีจิตใจเข้มแข็งมุ่งมั่น  เลิกนิสัยเก่าๆสร้างนิสัยใหม่หรือลักษณะที่ดีให้กับตนเองให้ได้จึงพัฒนาตนเองได้สำเร็จ  การพัฒนาตนเอง  มีขั้นตอนดังนี้
2.1     การกำหนดให้ชัดเจนว่าจะพัฒนาลักษณะนิสัยใด  ด้วยวิธีการอย่างไร  ซึ่งลักษณะที่จะพัฒนาจะต้องเห็นชอบว่าเป็นสิ่งที่ดีทำให้ตนเองมีคุณค่ามากขึ้น
2.2     วางแผนการพัฒนาทีละเรื่องอย่างเป็นระบบ  เริ่มจากเรื่องง่ายๆไปหายาก
2.3     กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาให้เพียงพอและสม่ำเสมอ  พยายามทำให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนิสัย  การเปลี่ยนแปลงนิสัยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงลุคลิกภาพ  และการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพนำไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทาง


                             วิธีการพัฒนาตนเอง                           
1.        การฝึกตนเอง  หมายถึง  การฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่มีอนามัยดี  รู้จักหลีกเลี่ยงการบั่นทอนสุขภาพ  รู้จักแบ่งเวลาในการทำงานและการพักผ่อน  รู้จักที่จะรักษาสุขภาพกาย  นอกจากนั้นต้องฝึกให้เป็นคนรู้จักอดทน  นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน  ฝึกให้เป็นคนที่มีอารมณ์ขันบ้าง  ถ้ามีปัญหาและอุปสรรคก็ต้องพยายามต่อสู้โดยไม่ให้เดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น  ที่สำคัญก็คือ  การรู้จักพัฒนาความคิดชื่นชมของผู้อื่นมากกว่าที่จะชื่นชมตนเอง  รู้จักที่จะเคารพสิทธิของผู้อื่นไม่ใช่คิดถึงแต่สิทธิของตนเอง
2.        ฝึกสำรวจตนเอง  หมายถึง  การหมั่นพิจารณาตนเองอย่างสม่ำเสมอ  เช่น  ในหนึ่งวันตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอนได้ทำอะไรไปบ้าง  สิ่งที่ดีงามที่ได้ทำไปแล้วมีอะไร  และมีอะไรบ้างที่ยังเป็นข้อบกพร่อง  และพิจารณาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้อย่างไร  และจะแก้อย่างไร  เพื่อที่จะไม่ให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นอีก
3.        การแสวงหาความรู้และประสบการณ์อยู่เสมอ  อาจทำได้หลายทาง  โดยเฉพาะในปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี  ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น  ต้องหมั่นเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์อยู่เสมอด้วยวิธีต่างๆ  เช่น การอ่าน  การค้นคว้า  การฝึกอบรม  ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาความรู้และประสบการณ์โดยตรงด้านวิชาชีพได้มากขึ้น
 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

         แนวทางในการพัฒนาตนเอง        

แนวทางในการพัฒนาตนเอง  มีคุณลักษณะ  4 ด้าน  ดังนี้
1.        การแต่งกาย  การเอาใจใส่ดูแลการแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัย  รู้จักเลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับรูปร่าง  สถานที่  เวลา  จะทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น  และผู้พบก็อยากคุยด้วยผู้แต่งตัวรุ่มร่ามไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ  อาจทำให้ถูกตำหนิหรือวิจารณ์ได้  และท่าทางก็เป็นสิ่งสำคัญควรระมัดระวังตนเองให้มีกิริยามารยาทที่ดี  เดินด้วยท่าทางที่สง่าผ่าเผย  และหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสจะให้ผู้อื่นรู้สึกเชื่อถือขึ้น
2.        ความคิด  การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทำให้มองโลกกว้างขึ้น  รู้สึกชีวิตมีคุณค่าไม่น่าเบื่อหน่าย  การพัฒนาความคิดทำได้โดย
Ø  ค้นคว้าความสนใจของตนเองเพื่อให้ทราบว่าชอบศึกษาค้นคว้าเรื่องอะไร
Ø  รวบรวมความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจให้มากที่สุด
Ø  ติดตามความก้าวหน้าหาความรู้ด้านนั้นๆให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
Ø  หมั่นอ่าน  ทบทวนความคิด  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน
3.        การควบคุมตนเอง  สังคมจะไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ควบคุมตนเอง  มีท่าทางฉุนเฉียวก้าวร้าวเกินควร  ในทางตรงกันข้ามสังคมจะยกย่องนับถือผู้ที่อดกลั้น  ควบคุมอารมณ์ตนเองได้  การฝึกควบคุมตนเองต้องพยายามคิดก่อนทำโดยคิดว่าสิ่งที่อยากทำกับสิ่งที่ควรทำเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่  ถ้าสิ่งที่อยากทำเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ  ก็ต้องตัดละทิ้งออกไป  การคิดก่อนทำจะทำให้ไม่เสียใจในภายหลัง  และได้ทำในสิ่งที่มั่นใจยิ่งขึ้น
4.        การผูกมิตร  ความสุขอย่างเดียวคือการได้เป็นมิตรกับผู้อื่น  นอกจากจะเป็นเพื่อนไม่ให้เหงาและว้าเหว่แล้ว  มิตรยังให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อน  การผูกมิตรมีหลักการ  ดังนี้
Ø  เรียงลำดับจากง่ายไปยาก  คือผูกมิตรกับผู้ที่ต้องการคบหาสมาคมกับเราถูกนิสัยใจคอกัน  และสุดท้ายคือบุคคลที่เราต้องการคบหาด้วย
Ø  ควรเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์  ชอบอะไร  ไม่ชอบอะไร  สิ่งสำคัญคือ  ไม่มีใครชอบบุคคลที่พูดมาก  อวดรู้  ดูถูกหรือชอบตำหนิผู้อื่น  ทุกคนชอบผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
Ø  ทักทายผู้อื่นอยู่เสมอ  อย่าลืมกล่าวคำว่า ขอโทษ  ขอบคุณ  และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ


แนวทางการพัฒนาตนเองตามหลักพระพุทธศาสนา 
             
         การพัฒนาตน  ถ้าพัฒนาตามเกณฑ์ย่อมส่งผลให้บุคคลมีลักษณะที่สำคัญจะเป็นคนที่มีอนามัยดีแข็งแรง  มีอารมณ์ที่มั่นคงมีจิตใจที่งดงาม  ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจตนเองเข้าใจบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดีและจะช่วยให้ปรับตัว  สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ง่าย  อยู่กับงานอื่นได้อย่างเป็นสุข  และจะนำไปสู่การปฏิบัติตนร่วมกับคนอื่นได้และมีประสิทธิภาพ  แนวทางในการพัฒนาตนเองตามหลักพระพุทธศาสนา  ซึ่งพระธรรมปิฎกได้อธิบายว่าในการพัฒนาตนเองนั้นมี 4 ด้าน  คือ
1.        การพัฒนาทางกาย  หมายถึง  การพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพอนามัยดี  ร่างกายแข็งแรง  สามารถจะปฏิบัติงานได้อย่างดี  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  มีคุณค่า  รู้จักออกกำลังกายสม่ำเสมอ  และทำให้มีความสุขอยู่ได้ตามสมควร
2.        การพัฒนาศิล  หมายถึง  การปฏิบัติตามศิล 5 หรือมากกว่านั้น  ก็จะช่วยให้ปฏิบัติตนที่มีคุณต่อคนอื่น  มีคุณแก่สังคม  ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่นและสังคมให้เดือดร้อน  และปฏิบัติหรือประกอบอาชีพที่สุจริต  ในเรื่องของการพัฒนาศิลนั้นจะช่วยให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การพัฒนาตนเองและพัฒนาสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้
3.        การพัฒนาจิต  หมายถึง  ทุกคนจะต้องทำตนเองให้เป็นผู้มีสุขภาพจิตที่ดี  เพราะจะช่วยให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ  เรื่องสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเริ่มพัฒนาด้วยตนเอง
4.        การพัฒนาทางสติปัญญา  หมายถึง  การฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักที่จะใช้ความสามารถของตนเองให้เกิดคุณค่า  รู้จักพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ  ด้วยเหตุผล  ยอมรับความจริง  มีความกระตือรือร้นและสิ่งสำคัญก็คือ  เมื่อบุคคลอื่นคิดไม่เหมือนตนเอง  มีความขัดแย้งทางความคิดกับบุคคลอื่นนั้นตนเองก็ต้องรู้จักฟังบุคคลอื่น  รู้จักที่จะคิดละเอียดรอบคอบ  สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาทางปัญญาก็คือ พยายามหาทางที่จะขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานที่ยาก  ให้ลุล่วงได้ด้วยสติปัญญาอย่างรอบคอบ


 แนวทางการพัฒนาตนเองโดยเศรษฐกิจพอเพียง                 
            “เศรษฐกิจพอเพียง”  เป็นหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ  และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รวดพ้น  และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั้งยื่นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ




            หลักแนวทางคิดของเศรษฐกิจพอเพียง            
          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาทโดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีใจในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้  ความรอบคอบ  และคุณธรรม  ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ
          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน  ดังนี้
1.        กรอบแนวคิด  เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา  และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2.        คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3.        คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมๆกันดังนี้
3.1.      ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 
3.2.      ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
3.3.      การมีภูมิคุ้มดันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่เกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4.        เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน  กล่าวคือ 
4.1.      เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2.      เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้าง  ประกอบด้วย  มีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์และมีความอดทน  มีความอดทน  มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5.        แนวทางปฏิบัติหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ  จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้  คือ  การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้าน เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลักแนวทางคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

               การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง                 
ข้อพิจารณาในเรื่องการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง  มีดังนี้ 
1.        พิจารณาจากความสามารถในการพึ่งตนเองเป็นหลัก   โดยเน้นความสมดุลทั้ง3 คุณลักษณะ  คือ พอประมาณ  มีเหตุผล  และมีภูมิคุ้มกัน  มาประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆเป็นขั้นเป็นตอน  รอบคอบ  ระมัดระวัง  พิจารณาถึงความพอดี  พอเหมาะ  พอควร  และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  ที่มีองค์ประกอบครอบคลุมทั้ง 5 ประการ  คือ
1.1.      ด้านจิตใจ  มีจิตใจเข้มแข็ง  ฝึกตนเองได้  มีจิตสำนึกที่ดี  เอื้ออาทร  ประนีประนอม  และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
1.2.      ด้านสังคม  มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  รู้รักสามัคคี  สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชุน  รู้จักผนึกกำลัง  มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงแข็งแรง
1.3.      ด้านเศรษฐกิจ  ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอดี  พอมี  พอกิน  สมควรตามอัตภาพและฐานะของตน  ประกอบอาชีพสุจริต  ด้วยความขยันหมั่นเพียร  อดทนใช้ชีวิตเรียบง่ายอย่างมีเหตุผลเท่าที่จำเป็น  ประหยัด  รู้จักการเก็บออมเงินและแบ่งปันผู้อื่น
1.4.      ด้านเทคโนโลยี  รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  สอดคล้องกับความต้องการและภูมินิเวศ  พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
1.5.      ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ  สามารถเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
2.        พิจารณาความรู้คู่คุณธรรม  มีการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  ในวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต  ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่างๆอย่างรอบรู้  รอบคอบ  และมีเหตุผลที่จะนำความรู้ต่างๆเหล่านั้นมาปรับปรุงใช้อย่างมีขั้นตอนและระมัดระวังในการปฏิบัติ  มีความตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความเพียรความอดทน  และใช้สติปัญญาอย่างชาญฉลาดในการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง
คุณธรรมที่ควรศึกษาและนำมาปฏิบัติ
          ถ้าทุกคนพยายามปลูกฝังคุณธรรมและนำไปปฏิบัติให้ดีขึ้นทั่วกัน  จะช่วยให้ประเทศชาติเกิดความสุข  ความร่มเย็น  และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคง  ก้าวหน้าต่อไปได้ดังนี้
1.        การรักษาความสัตย์  ความจริงใจต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2.        การรู้จักข่มใจตนเอง  ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในสัจจะความดีนั้น
3.        ความอดทน  อดกลั้น  และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
4.        การรู้จักละวางความชั่ว  ความทุจริต  และเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง

           วิธีการพัฒนาชีวิตโดยเศรษฐกิจพอเพียง           
          มนุษย์แต่ละคนมีชีวิตแตกต่างกันไปตามแบบแผนของสังคมที่สลับซับซ้อน เปลี่ยนแปลงละพัฒนาตลอดเวลา  แต่ทุกคนก็ยังมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต   คือมีความพอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกันภายใต้เงื่อนไขของความรู้และคุณธรรม  เรียกว่า  เศรษฐกิจพอเพียง  ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เกี่ยวข้องทั้งเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การปกครอง  และอื่นๆ  โดนเฉพาะด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่แต่ละคนมีระดับความต้องการไม่เท่ากัน    ด้านสังคมเริ่มต้นจากการดำรงชีวิตจะมองถึงความสามารถในการพึ่งตนเอง  ความร่วมมือของคนในครอบครัวและคนรอบข้าง  สมาชิกในสังคมยอมรับ  มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต  เป็นต้น  ดังนั้นการพัฒนาชีวิตควรมีแนวทางในการดำเนินชีวิตดังนี้
1.        ค้นหาความต้องการของตนเองให้พบว่า  มีความต้องการอะไร  มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างไร  เช่น  ต้องการมีชีวิตที่มีอนาคตก้าวหน้า  มีความเป็นอิสระ  มีเวลาเพื่อครอบครัวและสังคม  มีทรัพย์สินเพียงพอ  มีความสุข  หลุดพ้นจากความยากลำบาก
2.        วิเคราะห์ข้อมูลของตนเองและครอบครัว  จะทำให้รู้สถานภาพ  รู้สาเหตุปัญหา  รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  รู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  เทคโนโลยี  และทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม
          2.1.      ศักยภาพของตนเอง  เช่น  ความรู้  ความสามารถ  ทักษะความชำนาญ  ชื่อเสียง  ประสบการณ์  ความมั่นคง  ความก้าวหน้า  สภาพทางการเงิน  การสร้างรายได้  การใช้จ่าย  การออม  การมีคุณธรรมและศิลธรรม
          2.2.      ศักยภาพของครอบครัว  เช่น  วิถีการดำรงชีวิต  ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว  ความเชื่อ  ทัศนคติ  ค่านิยม  วัฒนธรรม  ประเพณี  คุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว  ฐานะทางสังคม  ฐานะทางการเงิน  ที่เป็นทรัพย์สินและหนี้สินของครอบครัว  รายได้  รายจ่ายของครัวเรือน
3.        วางแผนการดำเนินชีวิต 
         3.1.       พัฒนาตนเองให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง  สร้างวินัยกับตนเอง  โดยเฉพาะวินัยทางการเงิน 
      3.2.      สร้างนิสัยที่มีความคิดก้าวหน้ามุ่งมั่นในเป้าหมายของชีวิต  พิจารณาความคิดตัดสินใจแก้ไขปัญหาเป็นระบบโดยใช้ความรอบรู้  ความรอบคอบ  ระมัดระวัง  รับผิดชอบต่อตนเอง  ครอบครัว  และสังคม
        3.3.      หมั่นบริหารจิตใจให้มีความซื่อสัตย์  สุจริต  รักชาติ  เสียสละ  สามัคคี  เที่ยงธรรม
       3.4.      ควบคุมจิตใจให้ตนเองประพฤติในสิ่งที่ดีงาม  สร้างสรรค์  เจริญรุ่งเรือง
       3.5.      พัฒนาจิตใจให้ลด ละ เลิก  อบายมุข  กิเลส  ตัณหา  ความโกรธ  ความหลง
       3.6.      เสริมสร้างและฟื้นฟูความรู้และคุณธรรมของตนเองและครอบครัว 
       3.7.      ปรับเจตคติในเชิงบวก  และมีความเป็นไปได้
4.        จดบันทึกและทำบัญชีรับและจ่าย
5.        สรุปผลการพัฒนาตนเองและครอบครัว โดยพิจารณาจาก
         5.1.      ร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์  แข็งแรง 
         5.2.      อารมณ์ต้องไม่เครียด  มีเหตุมีผล  มีความเชื่อมั่น   มีระบบคิดเป็นระบบ  เป็นขั้นเป็นตอน  มีแรงจูงใจ  กล้าคิดกล้าทำ  ไม้ท้อถอย  หรือหมดกำลังใจเมื่อประสบปัญหาในชีวิต
        5.3.      ลด ละ  เลิกสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  เช่น รถป้ายแดง  บัตรเครดิต  โทรศัพท์มือถือ  สถานเริงรมย์  เหล้า  บุหรี่  การพนัน


 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการพัฒนาชีวิตโดยเศรษฐกิจพอเพียง








ให้นักเรียนสรุปเนื้อหาที่อ่าน ลงใน A4 โดยเขียนเป็น Mind Map